Main content

Alert message

afdc

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ๘๔พรรษา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา

เทิดไท้มหาราชัน นพค.๔๒ สนภ.๔ นทพ. บ้านลีตอ ม.๓ ต.บาโร๊ะ อ.ยะหา จ.ยะลา

องค์ความรู้ฐานการเรียนรู้

ฐานที่ ๑   การเพาะเลี้ยงไส้เดือน

๑. ข้อมูลทั่งไป  ไส้เดือนลำตัวมีขนาด ๑๓๐ – ๒๕๐ x ๕-๘ มิลลิเมตร ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงปนเทา สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศจับคู่ผสมพันธุ์ใต้ดิน สร้างถุงไข่ได้โดยเฉลี่ยประมาณ 162-188 ถุง/ตัว/ปี ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ ๑๓-๒๗ วัน โดยเฉลี่ยฟัก ๒ ตัว/ถุงไข่ ใช้เวลาในการเติบโตเต็มวัย ๖-๑๐ เดือน อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าสลายเป็นอาหาร– มีอายุยืนยาว ๔-๕ ปี ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้เป็นไส้เดือนดินสีแดงที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วมาก โดยทั่วไปรู้จักกันในชื่อของ แอฟริกัน ไนท์ ครอเลอร์ (African night crawler) สามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว มีการเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้กันอย่างกว้างขวาง ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้นอกจากนำมาใช้ในกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินแล้วยังมีความเหมาะสมมากในการนำมาผลิตเป็นโปรตีนเสริมสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ เนื่องจากมีขนาดใหญ่และมีอัตราการแพร่พันธุ์ได้สูงมาก แต่มีข้อเสียตรงที่ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ทนทานต่อช่วงอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมได้ต่ำ เลี้ยงยาก และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยากด้วย เนื่องจากไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ซึ่งจะชอบอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง โดยจะเจริญเติบโตได้ไม่ดีในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า ๑๐ องศาเซลเซียส และจะตายในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า ๑๐ องศาเซลเซียส การเลี้ยงไส้เดือนสายพันธุ์นี้ในประเทศเขตหนาวจะถูกจำกัดการเลี้ยงเฉพาะภายในโรงเรือนที่มีการควบคุมอุณหภูมิในช่วงฤดูหนาวเท่านั้นถึงจะเลี้ยงได้ดี สำหรับการเลี้ยงภายนอกโรงเรือน จะเหมาะสมเฉพาะกับพื้นที่เขตร้อน หรือ กึ่งร้อนเท่านั้น สำหรับในด้านการนำมาใช้จัดการขยะพบว่า ไส้เดือนสายพันธุ์นี้มีความสามารถในการย่อยสลายขยะในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว

๒. ขั้นตอนการเลี้ยงไส้เดือน

     ๒.๑ ขั้นตอนที่ ๑ การเตรียมที่อยู่สำหรับเลี้ยงไส้เดือน

          ๒.๑.๑ เตรียมภาชนะสำหรับเลี้ยงไส้เดือนใช้ภาชนะในครัวเรือน ได้แก่ บ่อซีเมนต์ กะละมัง ถังน้ำ โอ่งน้ำนำมาเจาะรูระบายนน้ำ

          ๒.๑.๒ เตรียมวัตถุดิบสำหรับเป็นที่อยู่ (Bedding) ได้แก่ มูลวัว ขุยมะพร้าว เศษใบไม้แห้ง เศษวัตถุดิบเหลือใช้จากการเกษตร ขยะอินทรีย์ต่างๆ น ามาใส่น้ าหมักไว้ ประมาณ ๓-๗ วัน ให้มีความชื้นประมาณ ๘๐ % ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นก่อนปล่อยไส้เดือนลง

          ๒.๑.๓ เตรียมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องและต้องใช้ระหว่างการเลี้ยงไส้เดือน ได้แก่  ภาชนะรองนน้ำหมัก ตาขายกันแมลง ถังสำหรับเก็บน้ำหมัก และอื่นๆ ถุงมือ ถุงดำ ท่อปูนซีเมน

     ๒.๒ ขั้นตอนที่ ๒ การจัดสภาพแวดล้อมนำที่อยู่  (Bedding)  ที่เตรียมไว้ใส่ในภาชนะในสัดส่วน  ๒๐  กก./ไส้เดือน ๑ กก.และ ๑๐ กก/ไส้เดือน ½ กก. น าไส้เดือนปล่อยลงปล่อยลงทีอยู่ โดยอาศัยเทคนิคอย่างง่าย คือปล่อย ๓-๕ ตัว บนที่อยู่ที่เตรียมไว้สังเกตพฤติกรรมของไส้เดือน ถ้าไส้เดือนมุดลงไปแสดงว่า พร้อมเลี้ยง แต่ถ้าไส้เดือนหนี้ หรือมาอยู่รวมกันเป็นก้อน แสดงว่าต้องปรับสถานที่อยู่ใหม่ จากนั้นนำไปเลี้ยงในสภาพแวดล้อม ที่ระดับความชื้นที่แตกต่างกัน คือความชื้นที่ ๒๐ % ๘๐ % ๖๐ %

     ๒.๓ ขั้นตอนที่ ๓ การดูแลให้อาหารการดูแลระหว่างเลี้ยงไส้เดือนในหนึ่งรอบการเลี้ยงใช้ระยะเวลา ๑๐ สัปดาห์

          ๒.๓.๑ การดูแลป้องกันศัตรูของไส้เดือน (หนู,จิ้งจก,จิ้งเหลน,งู คางคง, นก,และมด)

          ๒.๓.๒ การรักษาระดับความชื้น ให้อยู่ในสภาพที่ก าหนด

          ๒.๓.๓ การดูแลการให้อาหาร โดยเว้นระยะให้อาหาร ๓-๕ วัน /ครั้ง ขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารในแต่ละครั้ง ใช้วิธีการโรยอาหารบนที่อยู่ และวิธีฝังกลบ

     ๒.๔ ขั้นตอนที่ ๔ การเก็บเกี่ยวผลผลิต เลี้ยงไส้เดือนครบ ๑ เดือน เริ่มเก็บน้ำหมัก โดยใช้ภาชนะรองรับน้ำ หมักจากรูระบายที่เจาะไว้เมื่อเลี้ยงครบ ๗ สัปดาห์ รดให้น้ำและหยุดให้อาหาร ระบายออกจากภาชนะที่เลี้ยงไว้ปล่อยทิ้งไว้ ๑ สัปดาห์ เริ่มคัดแยกตัวไส้เดือน ไข่ไส้เดือน ออกจากที่อยู่เดิม และเริ่มต้นการเลี้ยงรายใหม่

     ๒.๕ ขั้นตอนที่ ๕ การใช้ประโยชน์

          ๒.๕.๑ น้ำหมัก สามารถนำไปจำหน่ายหรือใช้เป็นปุ๋ยน้ำฉีดพ่นทางใบและราดโคนต้น โดยผสมน้ำในสัดส่วนที่แตกต่างกันตามชนิดต้นไม้

          ๒.๕.๒ มูลไส้เดือนสามารถนำไปจำหน่ายและเป็นปุ๋ยโรยไม้กระถางไม้ยืนต้น ต้นผลไม้และผักสวนครัว ใช้ผสมดินปลูก และเพาะกล้าไม้

          ๒.๕.๓ ตัวไส้เดือน สามารถนำไปจำหน่ายเป็นโปรตีนอาหารสัตว์ เช่น ปลาสวยงาม นก สวยงาม หรือใช้เร่งการการเจริญเติบโตในไก่เป็ด สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อไส้เดือนดิน

     ๒.๖ ขั้นตอนที่ ๖  อุณหภูมิที่เหมาะสม

ในการเพาะเลี้ยงอยู่ระหว่าง  ๑๒ – ๒๕  องศา  ถ้าอุณหภูมิต่ำหรือสูงกว่านี้ไส้เดือนจะได้ขยายพันธุ์หรือไม่เพิ่มจำนวน (ความชื้นประมาณ ๘๐% ต้องการความชื้นอย่างเพียงพอ ไม่ควรให้แฉะเกินไปหรือมีน้ำเข้ามากเกินไปไส้เดือนเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบแดด จึงจำเป็นต้องมีภาชนะทึบปิดกันแสง มีการถ่ายเทของอาหารได้ สะดวก แต่ในบางครั้งสามารถอยู่ในสภาพที่มีออกซิเจนต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์สูงได้ไส้เดือนดินสามารถเจริญได้ดีในดินที่มีสภาพเป็นกลาง (PH ๖-๗) สามารถใช้เปลือกไขทุบละเอียดโรยบาง ๆ เดือนละ ๑ ครั้ง เพื่อปรับสภาพความเป็นกลางของดิน

๓. ประโยชน์ของไส้เดือนดิน

     ๓.๑ ด้านสิ่งแวดล้อม

เปลี่ยนขยะอินทรีย์เป็นปุ๋ยหมัก ลดการฝั่งกลบขยะ

     ๓.๒ ด้านการเกษตร

ผลิตปุ๋ยหมักจากไส้เดือนและน้ าสกัดชีวภาพใช้ในการเกษตรอินทรีย์

    ๓.๓ ด้านอาหารสัตว์

ผลิตปุ๋ยหมักจากไส้เดือนเป็นอาหารโปรตีน และผง

    ๓.๔ ด้านการแพทย์

รักษาโรคข้ออักเสบ แผลอักเสบ โรคผิวหนัง และสลายลิ่มเลือดในหลอดเลือดตำราจีน ยาบำรุงทางเพศ ,บำรุงกำลัง,และแก้โรคช้ำใน บำรุงรักษาโรคหัวใจการเลี้ยงไส้เดือน

สูตรคำนวณความสำเร็จ

     ต้นทุนครั้งที่ ๑

          – ซื้อพันธุ์ใส้เดือน สั่งซื้อใส้เดือนมาจากฟาร์ม ราคา ๑,๕๐๐ กก.ๆละ ๓๐๐ บาท เป็นเงิน ๑,๕๐๐ บาท

          – ซื้อมูลสัตว์ ๑๐๐ กก.ๆละ ๖ บาท เป็นเงิน ๖๐๐ บาท

          – ซื้อกะลามัง ๕๐ ใบ ๆ ละ ๓๕ บาท เป็นเงิน ๑,๗๕๐ บาท

     รายได้/กำไร จากการเพาะเลี้ยงใส้เดือน ครั้งที่ ๑

          – ต้นทุน ๓,๘๕๐ บาท

          – ขายใส้เดือน  ๒ กก. ๆละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน  ๑,๒๐๐ บาท

          – ขายมูลใส้เดือน ๑๐๐ กก. ๆละ  ๓๕ บาท เป็นเงิน ๓,๕๐๐ บาท

          – กำไร ๓,๘๕๐ – ๔,๗๐๐ = ๙๐๐ บาท

สูตรคำนวณความสำเร็จ

     ต้นทุนครั้งที่ ๒

          – ซื้อมูลสัตว์ ๑๐๐ กก.ๆละ ๖ บาท เป็นเงิน ๖๐๐ บาท

     รายได้/กำไร จากการเพาะเลี้ยงใส้เดือน ครั้งที่ ๑                

          – ต้นทุน ๖๐๐ บาท

          – ขายใส้เดือน  ๒ กก. ๆละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน  ๑,๒๐๐ บาท

          – ขายมูลใส้เดือน ๑๐๐ กก. ๆละ  ๓๕ บาท เป็นเงิน ๓,๕๐๐ บาท

          – กำไร ๖๐๐  – ๔,๗๐๐ = ๔,๑๐๐ บาท

 

ฐานที่  ๒ การทำปุ๋ยหมัก

     ๑. ข้อมูลทั่วไป ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยที่ได้จากการหมักสารอินทรีย์ให้สลายตัวผุพังตามธรรมชาติ โดยนำสิ่งเหล่านั้นมากองรวมกัน รดน้ำให้ชื้น แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เกิดการย่อยสลายตัวโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ จึงนำไปใช้ปรับปรุงดิน ในการเตรียมกองปุ๋ยหมัก อาจใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเร่งกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน แเป็นการเพิ่มคุณค่าด้านธาตุอาหารของปุ๋ยหมักด้วย

     ๒. การเลือกสถานที่ที่จะใช้ในการทำปุ๋ยหมัก ควรเลือกบริเวณใกล้กับแหล่งซากสัตว์และซากพืช ให้มากที่สุด และสะดวกในกานขนย้ายไปใช้ ควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ แต่ควรอยู่ห่างจากแหล่งน้ำบริโภค ควรเป็นบริเวณที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง

     ๓. การเตรียมวัสดุต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ผลิตปุ๋ยหมัก ซากพืช เช่น ฟางข้าว เปลือกถั่ว ต้นถั่ว ต้นข้าวโพด ใบอ้อย ต้นและใบฝ้าย ซากพืชตระกูลถั่วต่างๆทั้งที่เป็นหญ้าสดและหญ้าแห้ง ใบไม้ทุกชนิด เป็นต้น ซากสัตว์ หรือ ปุ๋ยคอก เป็นแหล่งของจุลินทรีย์และอาหารของจุลินทรีย์หรืออาจจะใช้สารเร่งที่เป็นแหล่งจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลาย  ปุ๋ยเคมี ในการทำปุ่ยหมักมักมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มธาตุอาหาร ให้เแก่จุลินทีรย์ เช่น การเพิ่มธาตุไนโตรเจนลงในกองปุ๋ย ซึ่งจะใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต หรือ ปุ๋ยยูเรีย เพื่อเป็นแหล่งธาตุอาหารให้แก่จุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ในการย่อยสลายซากพืชในกองปุ๋ยหมัก โดยไนโตรเจนจากปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงในกองปุ๋ยจะถูกจุลินทรีย์นำไปใช้และแปรสภาพให้เป็นสารอินทรีย์ไนโตรเจน ปูนขาว เป็นการใส่เพื่อปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างให้เหมาะสม ต่อการเจริญเติบโตและการย่อยสลายซากพืชจากจุลินทรีย์ โดยการใช้ปูนขาว ประมาณ ๒๐ กิโลกรัม ต่อซากพืชแห้ง 1ตัน อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการผลิตปุ๋ย